คุยกันวันสบายๆ กับหมอโจ

คุยกันวันสบายๆ
แวะเวียนมาทักทายกันได้นะครับ
หมอโจยินดีที่ได้คุยกับเพื่อนๆนะครับ

ดนตรีบำบัดคืออะไร 
ดนตรีบำบัด (Music Therapy) คือศาสตร์ที่ว่าด้วย การนำดนตรี หรือองค์ประกอบอื่น ๆ ทางดนตรี มาประยุกต์ใช้ เพื่อปรับเปลี่ยน พัฒนา และคงรักษาไว้ซึ่งสุขภาวะของร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม โดยนักดนตรีบำบัดเป็นผู้ดำเนินการไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ ผ่านทางกิจกรรมทางดนตรีต่าง ๆ อย่างมีรูปแบบโครงสร้างที่ชัดเจน มีหลักเกณฑ์ และระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ 
เป้าหมายของดนตรีบำบัด ไม่ได้เน้นที่ทักษะทางดนตรี แต่เน้นในด้านพัฒนาการทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม ขึ้นอยู่กับความจำเป็นของแต่ละบุคคลที่มารับการบำบัด สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในหลายบริบท เช่น ด้านการศึกษา ด้านการแพทย์ 

ความเป็นมาของดนตรีบำบัด 
ดนตรีมีบทบาทในประวัติศาสตร์ทางการแพทย์มาตั้งแต่ยุคอริสโตเติลและเพลโต้






การนำดนตรีมาใช้รักษาความเจ็บป่วย ได้มีมานานประมาณหลายพันปีแล้วในยุคกรีก ซึ่งเชื่อว่าเทพเจ้าแห่งดนตรีมีชื่อว่า Apollo จะช่วยรักษาความเจ็บป่วย ขับไล่วิญญาณชั่วร้ายได้โดยการใช้เสียงดนตรีขับกล่อมคนป่วย ได้มีการศึกษาค้นคว้าวิจัย ผลของดนตรีในแง่การรักษาอย่างจริงจังมาประมาณกว่า 50 ปีแล้ว Buckwalter et.al.1985 พบว่าดนตรีมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและจิตใจของมนุษย์ สามารถนำมาใช้ร่วมกับการรักษาทางการแพทย์ได้ผลดีในเรื่องความเจ็บปวด ลดความวิตกกังวล ความกลัว เพิ่มกำลังการเคลื่อนไหว สร้างแรงจูงใจให้เกิดสติ ความนึกคิด อารมณ์ และจิตใจที่ดี ช่วยทำให้ร่างกายสดชื่นแข็งแรง ผ่อนคลาย และเป็นสุขได้โดยนิยมใช้ในห้องผ่าตัด ห้องคลอด หอผู้ป่วยมะเร็ง ICU ฯลฯ เป็นต้น


 ดนตรีบำบัดได้ถูกนำมาใช้ในเรื่อง Relaxation และ pain control ครั้งแรกเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อช่วยฟื้นฟูทหารบาดเจ็บจากสงคราม มีงานวิจัยมากมายสนับสนุนว่าดนตรีมีผลช่วยลดความเจ็บปวดในผู้ป่วยมะเร็งลงได้ อาทิเช่น
- Bailey (1986) พบว่าดนตรีสามารถช่วยลดความวิตกกังวลและความกลัว อันเป็นวงจรของความเจ็บปวดทำให้ผ่อนคลายและลดปวดได้
- Zimmerman และคณะ (1989) พบว่าดนตรีสามารถช่วยลดความเจ็บปวดในผู้ป่วยมะเร็งได้
- Zimmerman และคณะ (1989) พบว่าดนตรีสามารถช่วยลดความเจ็บปวดในผู้ป่วยมะเร็งได้
- Munro and Mount (อ้างใน Cook1986) เสนอผลการศึกษาตัวอย่างผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองระยะสุดท้ายอายุ 15 ปีซึ่งเผชิญกับความปวดหลังและปวดท้องอย่างรุนแรง ร่วมกับมีความวิตกกังวล แนะนำวิธีการใช้จินตนาการร่วมกับการฟังดนตรี พบว่ามีประสิทธิภาพมาก เพราะผู้ป่วยไม่ใช้ยาระงับปวดขณะวันสุดท้ายของชีวิต
- Beck (1991) ศึกษาผลของดนตรีที่ผู้ป่วยชอบต่อระดับความปวดในผู้ป่วยมะเร็ง โดยให้กลุ่มตัวอย่างเลือกฟังเพลงที่ชอบ ประเภทผ่อนคลาย 7 ชนิด เช่น เพลงคลาสสิก, แจซ, ร็อค เป็นต้น ให้ฟังนาน 45 นาที ฟังวันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 3 วัน ผลการศึกษาพบว่าความปวดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
- Radziewicz and Schneider (1992) ศึกษาผลของดนตรีที่ผู้ป่วยชอบ เพื่อลดความเจ็บปวดในผู้ป่วย Leukemia ขณะทำการเจาะไขกระดูก ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มทดลองมีระดับความปวดต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
- วัลลภา สังฆโสภณ (1993) ศึกษาผลของดนตรีต่อความปวดและทุกข์ทรมานในผู้ป่วยมะเร็ง ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยเมื่อได้ฟังดนตรี จะมีความปวดและทุกข์ทรมานน้อยกว่าขณะไม่ได้ฟังดนตรีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
- Smith M และคณะ (2001) ศึกษาผลของดนตรีต่อการลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยมะเร็ง ในระหว่างการฉายรังสีรักษา พบว่ามีแนวโน้มว่าดนตรีมีส่วนช่วยลดความวิตกกังวลลงได้
- Maxwell T และคณะ (2001) สนับสนุน วิธีการดูแลให้ความรู้เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็ง Bone Metastasis ในเรื่องการทำ Relaxation therapy, guided imagery , music , meditation และ touch therapy
- จิราภี สุนทรกุล ณ ชลบุรี(2003) ศึกษาผลของดนตรีบำบัดต่อความวิตกกังวลและความปวดในผู้ป่วยมะเร็ง พบว่าการใช้ดนตรีบำบัดสามารถลดความวิตกกังวลในผู้ป่วยมะเร็งได้ แต่ยังสรุปได้ไม่ชัดเจนในเรื่องการลดความปวดและความทุกข์ทรมานจากความปวด ได้มีผู้ให้คำนิยามของคำว่าดนตรีบำบัดมากมาย แต่โดยสรุป ดนตรีบำบัด หมายถึงการควบคุม, การวางแผนการใช้ดนตรีและองค์ประกอบของดนตรี เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการรักษาบุคคล ซึ่งมีความบกพร่องทั้งทางร่างกายและจิตใจ สังคม อารมณ์ สติปัญญา




 ในสมัยสงครามโลกทั้งสองครั้ง นักดนตรีทั้งอาชีพและอาสาสมัครมีส่วนช่วยเหลือทหารผ่านศึกอย่างมาก จนกระทั่งแพทย์ที่ให้การดูแลทหารผ่านศึกได้ร้องขอให้ว่าจ้างนักดนตรี มาช่วยในการรักษาฟื้นฟูสภาพกายและใจของเหล่าทหารผ่านศึก หลังจากนั้นดนตรีบำบัดได้มีความก้าวหน้าต่อมาจนพัฒนาเป็นหลักสูตรการศึกษา ครั้งแรกที่ Michigan State University เมื่อปี ค.ศ. 1944 และได้มีการก่อตั้ง American Music Therapy Association ในปี 1998 


 เริ่มตั้งแต่ปี 1960 เป็นต้นมา ประเทศเดนมาร์กได้นำการบำบัดด้วยดนตรีไปใช้แก้ไขปัญหาหลาย ๆ ด้าน ในปี 1969 มูลนิธิสมาคมชาวเดนมาร์กเพื่อการบำบัดด้วยดนตรีได้เริ่มจัดตั้งศูนย์กลางการบำบัดด้วยดนตรีขึ้นในเดนมาร์ก

  โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา เป็นโรงพยาบาลจิตเวชแห่งแรกที่เก่าแก่ และได้มีการบำบัดรักษาผู้ป่วยจิตเวชมาเป็นระยะเวลายาวนาน ประกอบไปด้วยรูปแบบในการรักษาที่หลากหลายกลุ่มกิจกรรมเป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่ใช้อยู่ ซึ่งเป็นรูปแบบที่มุ่งส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีการฟื้นฟูทั้งสภาพร่างกาย และจิตใจไปพร้อม ๆ กัน โดยมีกลุ่มกิจกรรมนั้น ส่วนหนึ่งได้มีการนำดนตรีเข้ามาใช้เป็นเพียงส่วนประกอบ เช่น การร้องเพลง การใช้ดนตรีเพื่อประกอบจังหวะการร่ายรำประกอบเพลง ซึ่งรูปแบบในการทำส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปในเรื่องความบันเทิง ความสนุกสนานเพลิดเพลินเป็นส่วนใหญ่ โดยไม่มีวัตถุประสงค์หรือรูปแบบที่ชัดเจน ปี พ.ศ.2532 ได้เริ่มมีการจัดดนตรีบำบัดแก่ผู้ป่วยจิตเวชวัยรุ่น แต่ไม่เป็นที่แพร่หลาย แต่หลังจากปี พ.ศ.2539 นายแพทย์ปรีชา ศตวรรษธำรง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา ได้เดินทางไปดูงานเกี่ยวกับการใช้ดนตรีบำบัดผู้ป่วย ที่ประเทศออสเตรีย และได้นำแนวการรักษาผู้ป่วยจิตเวชด้วยดนตรีมาเสนอและมอบหมายให้คุณสุพิน พรพิพัฒน์กุล นักจิตวิทยา มาดำเนินการจัดโครงการให้ความรู้เกี่ยวกับดนตรีบำบัดแก่บุคลากรของโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา โดยเชิญ อาจารย์พิชัย ปรัชญานุสรณ์ ผู้ชำนาญด้านดนตรีมาเป็นวิทยากรอบรมหลักและเทคนิคทางดนตรีบำบัดแก่บุคลากร ในโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา เมื่อปี พ.ศ.2541 ซึ่งเป็นการจุดประกายไฟให้บุคลากร และก่อให้เกิดการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการโครงการดนตรีบำบัดในโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา

" ความสุขที่แท้ ค้นพบได้ในเสียงดนตรี " ดนตรีบําบัด (music therapy) 
เรื่อง: ดนตรีบำบัด (Music Therapy)
ดนตรี (Music)
ดนตรี คือ ลักษณะของเสียงที่ได้รับการจัดเรียบเรียงไว้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย โดยมีแบบแผนและโครงสร้างชัดเจน สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ 3 ด้านใหญ่ ๆ คือ เพื่อความสุนทรีย์, เพื่อการบำบัดรักษา และเพื่อการศึกษา
ดนตรี มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย จิตใจ และการทำงานของสมองในหลาย ๆ ด้าน จากการศึกษาวิจัยพบว่ามีผล ดังนี้

ผลของดนตรีต่อร่างกาย สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ อัตราการหายใจ, อัตราการเต้นของชีพจร, ความดันโลหิต, การตอบสนองของม่านตา, ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ และการไหลเวียนของเลือด

ผลของดนตรีต่อจิตใจและสมอง สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ อารมณ์, สติสัมปชัญญะ, จินตนาการ, การรับรู้สภาพความเป็นจริง และการสื่อสารทางอวัจนะภาษา

องค์ประกอบต่าง ๆ ของดนตรี ก็มีประโยชน์ที่แตกต่างกันไป เช่น
1. จังหวะหรือลีลา (Rhythm) ช่วยสร้างเสริมสมาธิ (Concentration) และช่วยในการผ่อนคลาย (Relax)
2. ระดับเสียง (Pitch) เสียงในระดับต่ำ และระดับสูงปานกลาง จะช่วยให้เกิดความรู้สึกสงบ
3. ความดัง (Volume / Intensity) พบว่าเสียงที่เบานุ่ม จะทำให้เกิดความสงบสุข สบายใจ ในขณะที่เสียงดัง ทำให้เกิดการเกร็ง กระตุก ของกล้ามเนื้อได้ ความดังที่เหมาะสมจะช่วยสร้างระเบียบการควบคุมตนเองได้ดี มีความสงบ และเกิดสมาธิ
4. ทำนองเพลง (Melody) ช่วยในการระบายความรู้สึกส่วนลึกของจิตใจ ทำให้เกิดความริเริ่มสร้างสรรค์และลดความวิตกกังวล
5. การประสานเสียง (Harmony) ช่วยในการวัดระดับอารมณ์ความรู้สึกได้โดยดูจากปฏิกิริยาที่แสดงออกมาเมื่อฟังเสียงประสานต่าง ๆ จากบทเพลง

ดนตรีบำบัดคืออะไร
ดนตรีบำบัด (Music Therapy) คือศาสตร์ที่ว่าด้วย การนำดนตรี หรือองค์ประกอบอื่น ๆ ทางดนตรี มาประยุกต์ใช้ เพื่อปรับเปลี่ยน พัฒนา และคงรักษาไว้ซึ่งสุขภาวะของร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม โดยนักดนตรีบำบัดเป็นผู้ดำเนินการไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ ผ่านทางกิจกรรมทางดนตรีต่าง ๆ อย่างมีรูปแบบโครงสร้างที่ชัดเจน มีหลักเกณฑ์ และระเบียบ

วิธีทางวิทยาศาสตร์
เป้าหมายของดนตรีบำบัด ไม่ได้เน้นที่ทักษะทางดนตรี แต่เน้นในด้านพัฒนาการทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม ขึ้นอยู่กับความจำเป็นของแต่ละบุคคลที่มารับการบำบัด สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในหลายบริบท เช่น ด้านการศึกษา ด้านการแพทย์
ลักษณะเด่นของดนตรีบำบัด

ดนตรีบำบัดมีลักษณะเด่นเฉพาะตัวหลายด้าน ทำให้สามารถประยุกต์ใช้ได้ในทุกระดับอายุ และหลากหลายปัญหา ลักษณะเด่น ได้แก่
1. ประยุกต์เข้ากับระดับความสามารถของบุคคลได้ง่าย
2. กระตุ้นการทำงานของสมองได้หลายส่วน
3. กระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการทุกด้าน
4. ช่วยพัฒนาอารมณ์ จิตใจ
5. เสริมสร้างทักษะทางสังคม และการสื่อสาร
6. ให้การรับรู้ที่มีความหมาย และความสนุกสนาน ไปพร้อมกัน
7. ประสบความสำเร็จในการบำบัดได้ง่าย เนื่องจากประยุกต์ใช้ได้ ทุกเพศ ทุกวัย ทุกระดับความสามารถ

ประโยชน์ของดนตรีบำบัด
ดนตรีบำบัดสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งในเด็ก วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ตามเป้าหมาย เพื่อตอบสนองความจำเป็นที่แตกต่างกันไป ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ เช่น ปัญหาบกพร่องของพัฒนาการ สติปัญญา และการเรียนรู้, โรคซึมเศร้า, โรคอัลไซเมอร์, ปัญหาการบาดเจ็บทางสมอง, ความพิการทางร่างกาย อาการเจ็บปวด และภาวะอื่น ๆ

สำหรับบุคคลทั่วไป ก็สามารถใช้ประโยชน์จากดนตรีบำบัดได้เช่นกัน ช่วยในการผ่อนคลายความตึงเครียด และในการออกกำลังกายเสริมสร้างสุขภาพ
ประโยชน์ของดนตรีบำบัดมีดังนี้
1. ปรับสภาพจิตใจ ให้อยู่ในสภาวะสมดุล มีมุมมองในเชิงบวก
2. ผ่อนคลายความตึงเครียด ลดความวิตกกังวล (Anxiety / Stress Management)
3. กระตุ้น เสริมสร้าง และพัฒนาทักษะการเรียนรู้ และความจำ (Cognitive Skill)
4. กระตุ้นประสาทสัมผัสการรับรู้ (Perception)
5. เสริมสร้างสมาธิ (Attention Span)
6. พัฒนาทักษะสังคม (Social Skill)
7. พัฒนาทักษะการสื่อสารและการใช้ภาษา (Communication and Language Skill)
8. พัฒนาทักษะการเคลื่อนไหว (Motor Skill)
9. ลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อ (Muscle Tension)
10. ลดอาการเจ็บปวดจากสาเหตุต่าง ๆ (Pain Management)
11. ปรับลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม (Behavior Modification)
12. สร้างสัมพันธภาพที่ดีในการบำบัดรักษาต่าง ๆ (Therapeutic Alliance)
13. ช่วยเสริมในกระบวนการบำบัดทางจิตเวช ทั้งในด้านการประเมินความรู้สึก สร้างเสริมอารมณ์เชิงบวก การควบคุมตนเอง การแก้ปมขัดแย้งต่าง ๆ และเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว

โดยสรุปดนตรีบำบัด มีประโยชน์หลากหลายขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ เสริมสร้างสุขภาวะทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม เสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี โดยบูรณาการเข้ากับการรักษาอื่นๆ

กระบวนการและรูปแบบดนตรีบำบัด
ในการทำดนตรีบำบัด ไม่มีกระบวนการและรูปแบบที่ตายตัว แต่จะต้องออกแบบการบำบัดรักษาให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล มีการวางแผนการบำบัดรายบุคคล โดยมีขั้นตอนหลัก ๆ ดังนี้
1. การประเมินผู้รับการบำบัดรักษา
- ศึกษาข้อมูลประวัติส่วนตัว และประวัติทางการแพทย์
- ประเมินปัญหา และเป้าหมายที่ต้องการบำบัด
- ประเมินสุขภาวะ ทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และทักษะการคิด
2. วางแผนการบำบัดรักษา
- ออกแบบโปรแกรมที่เหมาะสมเป็นรายบุคคล และรายกลุ่ม โดยยึดเป้าหมายเป็นสำคัญ
- รูปแบบผสมผสาน กระบวนการต่าง ๆ ทางดนตรี เช่น ร้องเพลง แต่งเพลง ประสานเสียง จินตนาการตาม หรือลีลาประกอบ เป็นต้น
3. ดำเนินการบำบัดรักษา
- สร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้บำบัด กับผู้รับการบำบัด โดยใช้ดนตรีเป็นสื่อ
- ทำดนตรีบำบัด ร่วมกับการบำบัดรักษารูปแบบอื่น ๆ แบบบูรณาการ
4. ประเมินผลการบำบัดรักษา
- ประเมินผลอย่างต่อเนื่อง และปรับแผนการบำบัดให้เหมาะสม

ดนตรีบำบัดในโรงพยาบาล
ในโรงพยาบาลต่าง ๆ มีการนำดนตรีบำบัดมาร่วมบูรณาการเข้ากับการบำบัดรักษาอื่น ๆ เพื่อเป้าหมายต่าง ๆ กัน ดังตัวอย่างเช่น
1. กระตุ้น และส่งเสริมพัฒนาการด้านต่าง ๆ
2. ช่วยเสริมการเคลื่อนไหวร่างกายในการฟื้นฟูสมรรถภาพ
3. ลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น ก้าวร้าว รุนแรง อยู่ไม่นิ่ง ร่วมกับพฤติกรรมบำบัด และการบำบัดโดยใช้ยา
4. ช่วยให้สงบ และนอนหลับได้ ในผู้ที่มีความกลัว ความเครียด ร่วมกับการปรับสิ่งแวดล้อม และการใช้ยา
5. ปรับเปลี่ยนอารมณ์ ร่วมกับการใช้ยา และจิตบำบัดในโรคซึมเศร้า
6. เสริมในกระบวนการบำบัดต่าง ๆ ทางจิตเวช
7. ลดความเจ็บปวด ร่วมกับการใช้ยาแก้ปวดดนตรีบำบัดในโรงเรียน





การรักษาแบบ alternative medicine หรือการแพทย์ทางเลือก เป็นวิธีการรักษาแบบอิสระที่ใช้ได้กว้างขวางร่วมกับการรักษาทางการแพทย์ เพื่อให้ผู้ดูแลพยาบาลผู้ป่วยได้มีส่วนช่วยบรรเทาความเจ็บปวดจากภาวะต่างๆ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคมะเร็ง ด้วยวิธีการเบี่ยงเบนความสนใจ ช่วยลดการกระตุ้นที่ทำให้เกิดความเจ็บปวด ส่งเสริมการผ่อนคลายทางร่างกาย และทำให้เกิดความสุข ความงดงามทางจิตใจ ด้วยวิธีการ ผสมผสานแบบธรรมชาติ อาทิเช่น



1. Muscle relaxation technique
2. Rhythmic breathing
3. Massage and touch therapy
4. Position and supporting
5. Heat and cold
6. Meditation , Guided Imagery
7. Yoka
8. Environment therapy
9. Art therapy , Humor therapy , Dance therapy
10. Music therapy
วิธีการดังกล่าวอาจนำมาใช้ผสมผสานร่วมกันตามความเหมาะสม เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยมีความสุขสบายมากที่สุด ในที่นี้จะกล่าวถึงวิธีการใช้ Music therapy เนื่องจากเป็นวิธีที่สะดวก ง่าย ปลอดภัย และผู้ป่วยก็ยังคงสนับสนุนให้นำมาใช้เพราะมีความรู้สึกดีต่อวิธีการนี้








1. เพื่อทำให้ความรู้สึกเจ็บปวดลดลง มีความทนทานต่อความเจ็บปวดได้มากขึ้น มีความวิตกกังวล ความกลัวลดลง ใช้ยาน้อยลง
2. ทำให้ผู้ป่วยได้ผ่อนคลายจิตใจ มีความสุขเพลิดเพลิน ลืมความทุกข์ ความเจ็บปวดชั่วขณะ
3. ทำให้ผู้ป่วยมีทัศนคติที่ดีต่อทีมงานผู้รักษา แสดงออกในด้านดี
4. ช่วยทำให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวได้มากขึ้น


จุดประสงค์ของการนำดนตรีมาใช้ ก็เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจจากความเจ็บปวด ไปสู่ความสุขสบายเพลิดเพลิน เนื่องจากดนตรีที่เลือกสรรแล้ว โดยเฉพาะจังหวะ ความเร็ว-ช้า ระดับของเสียงและความดังจะมีอิทธิพล ทำให้เกิดการผ่อนคลาย ทางร่างกาย จิตใจ อันมีผลทำให้ความวิตกกังวล ความกลัวลดลงและยังสามารถปิดกั้นวงจรของการรับรู้ความเจ็บปวด ทำให้ความเจ็บปวดลดลงได้ และดนตรียังเพิ่มแรงจูงใจทำให้อยากเคลื่อนไหว ให้เกิดผลดีในผู้ป่วยที่จำเป็นต้องมี early ambulation เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนเนื่องจากความเจ็บปวด ทำให้จำกัดความเคลื่อนไหว ในการนำดนตรีมาใช้ลดความเจ็บปวดนี้จำเป็นต้องใช้ร่วมกับ Relaxation technique โดยเฉพาะจะช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลาย มีความสุขสบายมากขึ้น แสดงออกต่อผู้รักษาด้วยดี มีความสัมพันธ์ที่ดีกับทีมงานผู้รักษาเป็นการปรับสภาพอารมณ์และพฤติกรรมไปในด้านดี ส่งผลให้การรักษาประสบความสำเร็จยิ่งขึ้น

ขั้นตอนการใช้ดนตรีบำบัดเพื่อระงับอาการปวด
1. ต้องคำนึงถึงความต้องการของผู้ป่วยก่อน ผู้ป่วยควรมีความพร้อมที่จะใช้วิธีดนตรีบำบัด มีบางครั้งที่พบว่าในยามปกติ ผู้ป่วยมีประวัติรักเสียงเพลงและร่วมกิจกรรมด้านดนตรี แต่เมื่อมีความเจ็บป่วย ผู้ป่วยกลับไม่ค่อยตอบสนองต่อดนตรีเลย หรือปฏิเสธที่จะฟังดนตรี จึงควรหลีกเลี่ยงวิธีนี้ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่ชอบ
2. การสำรวจผู้ป่วยในเรื่องประสบการณ์ด้านดนตรี, ความสามารถด้านดนตรี ประเภทเพลงที่ผู้ป่วยชอบ เครื่องดนตรีหรือเพลงที่ผู้ป่วยคุ้นเคยซึ่งจะช่วยให้การจัดกิจกรรมดนตรีง่ายขึ้น และเป็นการสร้างความรู้สึกอบอุ่นประทับใจแก่ผู้ป่วย
3. จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่สบายที่สุด เจ็บปวดน้อยที่สุด โดยแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่ใส่สบายไม่อึดอัด ใช้หมอน ผ้าห่ม ฯลฯ ช่วยพยุงปรับให้อยู่ในท่าที่พอดี
4. ควรอยู่ในห้องที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก อุณหภูมิเย็นสบาย ไม่มีเสียงรบกวน ปรับแสงสีในห้องให้เย็นตา สะอาด เรียบร้อย สวยงาม
5. เลือกใช้เครื่องเสียงที่มีคุณภาพ ที่ผู้ป่วยจะสามารถใช้ได้เองด้วยตนเองตามสะดวกและปลอดภัย
6. จัดเจ้าหน้าที่คอยช่วยเหลือดูแล สอน ให้คำแนะนำ ให้กำลังใจผู้ป่วย ขณะที่ใช้วิธีการดนตรีบำบัดร่วมกับเทคนิคการผ่อนคลาย
7. ควรมีการประเมิน ความเจ็บปวด ความวิตกกังวล ก่อน-หลังทำ

ลักษณะของดนตรีที่ใช้
1. ควรเป็นเพลงบรรเลง ไม่ควรมีเนื้อร้อง, มีเสียงธรรมชาติ เช่น เสียงนก น้ำตก ฯลฯ
2. มีจังหวะที่ช้า มั่นคง สม่ำเสมอ ขนาดช้าถึงปานกลางประมาณ 70-80 ครั้ง/นาที
3. ทำนองราบเรียบ นุ่มนวล ผ่อนคลายสดชื่น สอดคล้อง
4. ระดับเสียงปานกลาง - ต่ำ
5. ความเข้มของเสียง ไม่ดังมาก ขึ้นอยู่กับความรู้สึกของผู้ป่วย เนื่องจากความดังสามารถกระตุ้นให้มีความเจ็บปวดมากขึ้นได้
6. ประเภทของดนตรีที่นิยมใช้ อาทิ เช่น พิณ เปียโน กีต้าร์ วงออร์เคสตร้า แจ๊สแบบช้า นุ่มนวล Pop Classic เป็นต้น
7. เป็นดนตรีที่ผู้ป่วยมีส่วนในการคัดเลือก และอาศัยความคุ้นเคย ความชอบของผู้ป่วยร่วมด้วย

ตัวอย่างดนตรีที่ใช้ในการทำวิจัยโรคต่างๆ
ดนตรีบรรเลงที่ใช้ในการวิจัยของบำเพ็ญจิต แสงชาติ เรื่องผลของดนตรีต่อการลดความเจ็บปวด และจำนวนครั้งของการใช้ยาระงับปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดระบบทางเดินปัสสาวะ(1985)
1. ลาวดวงเดือน
2. ลาวเจริญศรี
3. ลาวกระทบไม้
4. มอญดูดาว
5. เขมรไทรโยค
6. ลมหวล
7. เงาไม้
8. Symphony No. 9 ท่อนช้าของ Beethoven
9. Adagio Molto cantabile
10. Suite from " Water music" ของ Handel
11. Music from Shakespeare
12. Lullaby ของ J. Brahms
13. Trumpet concerto ของ HAYDN
14. Guitar concerto Rodigo
15. Winter farewell
16. Romance in F ของ Beethoven
17. Romance in E minor Anonymous

ดนตรีบรรเลงที่ใช้ในการวิจัยของ โฉมนภา กิตติศัพท์ เรื่องผลของดนตรีต่อการลดความเจ็บปวด และความวิตกกังวลในผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจแบบเปิด (1993)
1. เขมรไทรโยค
2. ขึ้นพลับพลา
3. ในฝัน
4. จันทร์เอ๋ย
5. ลาวดวงเดือน
6. Largo ของ Handel arr. F. Pourcel 1981
7. Gymnopedie No. 3 ของ E.Satie orchestration: C.Debussy.
8. REVE D' AMOUR ของ F.Liszt arr F.Pouecel 1981
9. Valse, Op.39 ของ J. Brahms arr F. Pourcel. 1981
10. None but the lonely heart ของ Tchaikovsky.
11. Andante Cantabile from String Quartet No. l ของ Tchaikovsky
12. Barcarolle (June)from the Months. ของ Tchaikovsky.
13. II Andante cantabile con moto ของ Beethoven, Symphony No.l in C Major, Op. 21.
14. III Adagio from Serenade No. 10 for Thirteen Wind, K316 ของ Mozart.
15. Telemann: Trio Sonata in A Minor.
16. Always on my mind.
17. II Adagio : Concerto No. 3 in G Major for violin and orchestra, K216 ของ Mozart
18. II Andante Cantabile: Concerto No. 4 in D Major for violin and orchestra, K218 ของ Mozart.
19. Horn Concerto ของ Richard Strauss. "Concerto for horn and orchestra No. 2 in Eb
 ดนตรีบรรเลงที่ใช้ในการวิจัยของวัลลภา สังฆโสภณ เรื่องผลของดนตรีต่อความเจ็บปวด และความทุกข์ทรมานในผู้ป่วยมะเร็ง (1993)
1. สวนอัมพร
2. สนามหลวง
3. เมื่อวานนี้
4. ลมหวล
5. ลาวกระแตเล็ก
6. ทะยอยญวน
7. ลาวดวงเดือน

ดนตรีบรรเลงที่ใช้ในงานวิจัยของ จิราภี สุนทรกุล ณ ชลบุรี เรื่องผลของดนตรีบำบัดต่อความวิตกกังวลและความปวดในผู้ป่วยมะเร็ง (2003)
1. Sound of the sea arranged by Michael Maxell and produced by Gordon Gibson: Beyond the Horizon, In a protected Cove, Forever by the Sea, Timeless and Free.
2. Sound of songbird arranged by John Herberman and produced by Gordon Gibson: New England Spring, Northern Mist, Coastal Horizon, Prairie Giory, Dawn in the Valley
3. Sound of the stream arranged by Michael Maxell and produced by Gordon Gibson: Pool of Mirror, The Repose,Quiet Longing, After the Rain.
4. Sound of the Wind arranged and produced by Eclipse Music Group: Riding the Wind.








ในโรงเรียนมีการนำดนตรีบำบัดมาใช้ใน 2 ด้านใหญ่ ๆ คือ
1. เสริมสร้างจุดแข็งในตัวเด็ก ในทักษะด้านต่าง ๆ นอกเหนือจากทักษะทางดนตรี เช่น ทักษะการสื่อสาร ทักษะการทำงานประสานสัมพันธ์กันของร่างกาย
2. เสริมในแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP - Individualized Educational Program) สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ


BrainWave คลื่นสมอง
การทำงานของสมอง คือการรับส่งข้อมูลเป็นสัญญาณไฟฟ้า และการเคลื่อนไหวของพลังงานเหล่านี้ ทำให้เกิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือ คลื่นสมอง

นักวิทยาศาสตร์ใช้เครื่องมือ Electroencephalogram (EEG) จับภาพสัญญาณไฟฟ้าบริเวณสมอง และแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่มดังนี้

[Image: brain-wave-1.gif]

คลื่นเบต้า Beta Brainwave ( ความถี่ระหว่าง 14 – 30 Hz )
เป็นคลื่นสมองที่เร็วที่สุด สมองควบคุมจิตใต้สำนึก
เมื่อใช้สมองเปิดรับข้อมูลพร้อมระบบประสาทสัมผัสทุกด้าน เช่น การทำกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับความทรงจำระยะสั้น

[b]คลื่นอัลฟ่า Alpha Brainwave ( ความถี่ระหว่าง 8 – 13.9 Hz )[/b]
เมื่อเราพักผ่อน และมีความสงบ (relaxation) แต่อยู่ในภาวะที่รู้สึกตัว สภาวะนี้จะทำให้รับข้อมูลได้ดีที่สุด สามารถเรียนรู้ได้ดี (superlearning)
เข้าถึงและเรียกความจำได้ง่ายและรวดเร็ว พบบ่อยในเด็กที่มีความสุข และผู้ใหญ่ที่มีจิตสมดุล หรือผู้ที่นั่งสมาธิเป็นประจำ
หรือในขณะร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย สภาวะก่อนหลับ
ในทางการแพทย์ คลื่นระดับนี้เหมาะกับการสะกดจิต เพื่อบำบัดโรค
ถือเป็นช่วงที่ดีที่สุดในการป้อนข้อมูลให้แก่จิตใต้สำนึก สมองสามารถเปิดรับข้อมูลได้อย่างเต็มที่และเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว
มีความคิดสร้างสรรค์ เป็นสภาวะที่จิตมีประสิทธิภาพสูง

คลื่นธีต้า Theta Brainwave ( ความถี่ระหว่าง 4 – 7.9 Hz )
เมื่อมีการผ่อนคลายระดับลึก ความคิดสร้างสรรค์ (inspiration) คลื่นปัญญาญาณ เป็นคลื่นที่เราสามารถดึงข้อมูลจากจิตใต้สำนึกได้ (subconscious mind)
การแก้ไขปัญหาโดยไม่รู้ตัว เป็นคลื่นระดับเดียวกับสมาธิระดับลึก (meditaion) เข้าถึงและเรียกความทรงจำระยะยาวได้ดี
สภาวะนี้ จะมีความสุข ลืมความทุกข์ มีแต่ความปิติยินดี
เป็นคลื่นสมองที่สะท้อนการทำงานของจิตใต้สำนึก (Subconscious Mind)

คลื่นเดลต้า Delta Brainwave ( ความถี่ระหว่าง 0.1 – 3.9 Hz )
เป็นคลื่นสมองที่ช้าที่สุด เกิดขึ้นในขณะนอนหลับ สมองทำงานตามความจำเป็นเท่านั้น แต่กระบวนการของจิตใต้สำนึกจะจัดและเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่อง
เป็นช่วงที่ร่างกายกำลังพักผ่อนอย่างเต็มที่ หลับลึกโดยไม่มีความฝัน จะรู้สึกสดชื่นเป็นพิเศษเมื่อยามตื่น

หมายเหตุ : ช่วงความถี่คลื่นแต่ละที่มาจะแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย ( ดังภาพด้านล่าง )

[Image: brain-wave-2.gif]


ประโยชน์ของการทำให้คลื่นสมองมีความถี่ต่ำ
คลื่นสมองที่อยู่ในระดับ Alpha Brainwave ( ความถี่ระหว่าง 8 – 13.9 Hz )

ทำให้เป็นคนจิตใจสงบ เยือกเย็น สุขุม มีอารมณ์ดี เบิกบาน ความคิดสร้างสรรค์สูง สมาธิสูง มีความจำดี

และมีพลังความคิดด้านบวกสูง มองโลกในแง่ดี
มักพบในนักบวช พระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติธรรม ผู้ที่กำลังมีความสุข ผู้ที่กำลังสวดมนต์

การที่จะกระตุ้นและเพิ่มพลังของจักระ 


ซึ่งหนึ่งในวิธีการนั้นก็คือ การใช้เสียงดนตรีบำบัด 

โดยการใช้เสียงของ singing bowl มากระตุ้นจักระ 

singing bowl เป็นอุปกรณ์ในการฝึกสมาธิของพระลามะธิเบต 
และพระภิกษุในนิกายเซ็น 
ถ้าเราสังเกตจะเห็นมีการใช้เป็นประจำ

วิธีปรับคลื่นสมองให้มีความถี่ต่ำ Low Frequency BrainWave
สภาวะแวดล้อม ค่อนข้างเงียบสงบ
ห่างจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้า เช่น เตาไมโครเวฟ สายไฟฟ้า หม้อแปลง คอมพิวเตอร์
การฟังหรือเล่นดนตรี เพลงคลาสสิค โมสาร์ต Mozart
การฝึกสมาธิ โยคะ
การอยู่ใกล้ชิดธรรมชาติ เช่น ภูเขา ทะเล อุทยาน สวนต้นไม้บริเวณบ้าน

คลื่นไมโครเวฟทำลายคลื่นสมอง
มีรายงานในประเทศเยอรมนี รัสเซีย และสวิตเซอร์แลนด์ พบว่า
คลื่นไมโครเวฟทำให้คลื่นสมองลดลง ความยาวของคลื่นสมองสั้นลงจนทำให้สมองเสื่อม
สังเกตได้จากฉลากขวดนมสำหรับเลี้ยงทารกจะระบุอย่างชัดเจนว่า
ห้ามใช้เตาไมโครเวฟต้มน้ำให้เดือด เนื่องจากคลื่นไมโครเวฟจะไปทำลายสารอาหารที่มีประโยชน์เสียหมด


คลื่นเบต้า Beta Brainwave ( ความถี่ระหว่าง 14 – 30 Hz )


คลื่นอัลฟ่า Alpha Brainwave ( ความถี่ระหว่าง 8 – 13.9 Hz )


คลื่นธีต้า Theta Brainwave ( ความถี่ระหว่าง 4 – 7.9 Hz )


คลื่นเดลต้า Delta Brainwave ( ความถี่ระหว่าง 0.1 – 3.9 Hz )


บทเพลงเพื่อการภาวนา จากหมู่บ้านพลัม
ของท่าน ท่านติช นัท ฮันห์ ณ ประเทศฝรั่งเศส


บทเพลงเพื่อการภาวนา จากหมู่บ้านพลัม
ของท่าน ท่านติช นัท ฮันห์ ณ ประเทศฝรั่งเศส




ต่อด้วย



ดนตรีบำบัดเพื่อชีวิตที่ต้องจากกันนิรันดร์( ยินดีกับการเดินทางครั้งใหม่ของคนที่เรารักมากที่สุด)
โดยเปิดตามลำดับดังนี้ครับ
1 power of heart
2 I ' m sorry for my life
3 power of forgiving
4 your new travel my dear